วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ความรู้พื้นฐานในเรื่องการเผาถ่าน
เมื่อไม้ได้รับความร้อนจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงถึง 300 C จะลุกไหม้จนเกิดก๊าซ เกิดถ่าน ซึ่งถ้าเป็นการเผาไหม้ในอากาศเปิด การเผาไหม้จะดำเนินไปจนถึงที่สุด กล่าวคือ จนกระทั่งเหลือแต่ขี้เถ้า แต่ถ้าถูกเผาในสภาพอากาศปิดหรือจำกัดอากาศ ไม้จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นถ่าน ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นที่จะอธิบายได้ง่าย ๆ ว่าไม้เป็นถ่านได้อย่างไร
ส่วนในข้อที่เกี่ยวข้องและผลกับการจะเผาถ่านให้ได้ถ่านที่ดี คือ การให้ความร้อนสูง ร้อนนาน ถ่านไม้กรอบแตกง่ายนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับไม้ที่เป็นวัตถุดิบในการเผาถ่านแล้วยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเตาเผาถ่าน วิธีดำเนินการเผาถ่าน และทักษะความสามารถในการเผาถ่าน ดังต่อไปนี้
การสร้างเตาเผาถ่าน
1.ควรจะเป็นรูปไข่ ซึ่งจะมีผลช่วยให้การกระจายความร้อนเป็นไปได้ดีทั่วกัน
2.ที่ตั้งของเตาเผาถ่าน ไม่ควรอยู่กลางแจ้ง ตากแดดตากฝนตำแหน่งที่ใช้เป็นที่จุดไฟหน้าเตา ควรจะอยู่ต่ำกว่าพื้นเตา
3.ปล่องควันไฟในตอนล่าง ควรมีขนาดใหญ่กว่ตอนบนเพื่อป้องกันลมเข้าทางปล่องควันเตาสามารถได้รับการออกแบบ
ให้สามารถควบคุม จำกัดปริมาณของอากาศภายในเตาได้ดี
เตาเผาถ่านแบบถังแดง
1.ถังน้ำมัน 200 ลิตร
2.ท่อใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว / ยาว 1 เมตร
3.สามทางปูน หรือใยหิน
4.อิฐมอญ 12 ก้อน
5.ดินหรือดินเหนียว ? คิว
6.ทราย ? คิว
7.ขี้เถ้าหรือปูนซีเมนต์ 1 กก.
8.ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม้น้อยกว่า 3 นิ้ว ยาว 5 เมตร เจาะรู
9.กรวยรองน้ำฝน
10.ไม้หรือเศษวัสดุที่ใช้ป้องกันดินพัง
11.ดินหรือดินเหนียวผสมกับขี้แกลบ เพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมข้อต่อ อุดรอยรั่วและปิดหน้าเตาเมื่อถ่านสุก
การเผาถ่าน
การเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร เป็นวิธีการเผาที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การเผาถ่านในแบบถังแดงในแต่ละครั้งจะได้ถ่านประมาณ 15 กก. และเก็บน้ำควันไม้ได้ถึง 5 ลิตร การติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้
1.ตัดฝาถังด้านบน เพื่อใช้เป็นส่วนของฝาเตาที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อนำไม้เข้าในเตาและนำถ่านออกมาจากเตา
2.เจาะรูในส่วนที่เป็นฝาถัง ขนาดประมาณ 20x25 cm. เพื่อทำหน้าที่เป็นปากเตา ใช้สำหรับปล่อยให้อากาศเข้า และเจาะรูด้านก้นถังใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. เพื่อที่จะสามารถติดตั้งสามทางปูนขนาด 4 นิ้ว ซึ่งจะใช้ต่อกับท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร
3.ขุดหลุมลึกขนาด 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง เพื่อติดตั้งถังลงในหลุมตามแนวนอนและติดตั้งปล่องควัน และกลบตัวถังด้วยดินหรือทรายเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน
4.ตัดไม้ที่จะใช้เผาถ่าน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. บรรจุใส่ถังในแนวนอนตามยาวของถังไม้ที่มีขนาดใหญ่ก็ควรจะผ่าเสียก่อน
5.ปิดฝาถังให้แน่นหนาอุดรอยต่าง ๆ ด้วยดินเหนียวไม่ให้เป็นช่องทางให้อากาศเข้าได้ นอกจากทางปากเตา
6.จุดไฟที่ปากเตาเพื่อเริ่มต้นเผาถ่าน ระมัดระวังตำแหน่งของกองไฟหน้าเตาไม่ให้เข้าใกล้เตาจนเกินไป ตำแหน่งที่เหมาะสมคือประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้ไอร้อนเท่านั้นที่ไหลเข้าไปในเตา
7.ดักเก็บน้ำส้มควันไม้ทางปล่องที่ควันออก โดยสังเกตจากสีของควัน
8.ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน จะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่
- ควันสีขาว จะเป็นช่วงการระเหยของไอน้ำจากภายในเนื้อไม้
- อุณหภูมิที่ปากปล่องช่วงนี้อยู่ระหว่าง 82 – 120 องศาเซลเซียส แต่การดักเก็บน้ำส้มควันไม้
- กำหนดให้เก็บในช่วงอุณหภูมิ 82 –120 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยจากสารทาร์ (Tar)
9.เมื่อเวลาถ่านสุกให้สังเกตว่าไม่มีควัน ออกมาจากปากปล่องอีก ให้ทำการอุดปากเตาและปากปล่องด้วยดินเหนียวรวมทั้งรอยรั่วอื่น ๆ จนควันไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้โดยเด็ดขาด
10.ทิ้งเตาไว้ 1 คืน เตาจะเย็นลงจนสามารถเปิดเตานำถ่านออกมาได้ในเช้าของวันถัดไป
11.ปกติการเผาถ่านด้วยเตาถังแดงนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
การจุดไฟหน้าเตา
- ก่อไฟหน้าเตาเพื่อให้ไอร้อนไหลเวียนเข้าไปในเตาซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการอบไในเตาให้แห้ง
- เพื่อให้ไม้ในเตาถูกอบให้แห้งอย่างทั่วถึง พร้อมเพรียงกันการให้ความร้อนจากหน้าเตาจึงควรค่อยเป็นค่อนไป ไม่เร่งรัดโหมไฟจนเกินไป
- ช่วงจุดไฟหน้าเตานี้ควรจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง สังเกตควันที่ปากปล่องจะมีสีขาว เนื่องจากเป็นการระเหยของความชื้นจากเนื้อไม้มาเป็นไอน้ำ
การควบคุมเตา
- เมื่อไม้ภายในเตาเริ่มลุกไหม้ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ไม้กลายเป็นถ่าน ควรหยุดเติมไฟจากภายนอก ลดช่องอากาศที่เข้าทางหน้าเตาให้เล็กลง ปล่อยให้เตาเผาไหม้ต่อไปด้วยความร้อนจากภายในเตาเท่านั้น
- ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 วัน สังเกตดูจะเห็นว่าควันที่ปากปล่องเป็นสีเหลืองเป็นช่วงที่น้ำส้มควันไม้จะระเหยออกมาเหมาะสมที่จะดักเก็บน้ำส้มควันไม้ ถ้าอุณหภูมิที่ปากปล่องอยู่ราว ๆ 82 องศาเซลเซียส
การปิดเตา
- เมื่อถ่านเริ่มสุก ควันที่ปากปล่องจะเปลี่ยนสีอีกครั้งที่ไม้กำลังกลายเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์ อุณหภูมิที่ปากปล่องจะสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส
- เมื่อควันที่ปากปล่องหมดไป เหลือแต่เพียงไอร้อน แสดงว่าถ่านสุกหมดแล้วจะต้องปิดปากเตาปล่องควันและรอยรั่วอื่น ๆ ให้แน่นหนา ไม่ให้อากาศเข้าไปในเตาได้โดยเด็ดขาด
http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/charcoal_fun1.php
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
จริงหรือไม่ที่สูตรของ โคคา โคล่า ไม่ลับสุดยอดอีกต่อไป?
ไฟเขียว! แจกบีบีนายอำเภอทั้งประเทศ
นอกจากนี้ กรมการปกครองยังได้อนุมัติแจกโทรศัพท์แบล็คเบอรี่ให้กับนายอำเภอทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อเป็นการขยายช่องทางในการสื่อสาร โดยดีเดย์ไว้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ทั้งนี้ทางกรมการปกครองได้ยืนยันว่า การซื้อโทรศัพท์แบล็คเบอรี่ดังกล่าวไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแต่อย่างใด แต่เป็นการแลกโปรโมชั่นโทรศัพท์ฟรีกับเครือข่ายเอไอเอส ซึ่งมีสัญญาในการใช้งานเป็นระยะเวลา 1 ปี
ที่มา http://news.sanook.com/1004278-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8.html
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ทำไมเบอร์รี่ ถึงดีกับดวงตา
แยมมานานกว่า 100 ปีแล้วนอกจากนี้ยังนำส่วนของใบและก้าน ไปทำเป็นผลแห้งเพื่อทำเป็นผงชาสำหรับดื่มเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย
บิลเบอร์รี่ เริ่มฮิตติดอันดับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่นักบินทหารอากาศของประเทศอังกฤษ สังเกตว่ากินแยมบิลเบอร์รี่ก่อนฝึกบินในเวลากลางคืน ช่วยให้สายตาทำงานได้ดีขึ้นในที่มืด
gadget ลดโลกร้อน
ศูนย์วิจัยนาซ่า เอ้ยไม่ใช่
นาบ้านโคก ค้นพบว่า การใช้อุปกรณ์ Gadget สามารถช่วยลดโลกร้อนได้
โดยฝ่ายวิจัยได้รายงานว่า
1. การใช้ Gadget
ทำให้ลดพลังงานไฟฟ้าได้จำนวนมหาศาล ถ้าต้องการฟังเพลงดังๆ
โดยเปิดเครื่องเสียงไว้ประมาณ 4-5 ชั่วโมงเครื่องเสียงจะกินไฟมาก
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นฟัง Gadget แบตจะลดไปแค่ขีดเดียว (ประหยัดสุดยอด)
แล้วถ้าทุกคนช่วยกันเลิกใช้เครื่องเสียงบ้านหันมาฟัง Gadget
จะประหยัดไฟช่วยลดโลกร้อนได้มากขนาดไหนจริงม่ะ 555
2.
เมื่อเทียบกับเครื่องเสียงปกติ จะเห็นว่า Gadget มีขนาดที่เล็กกว่ามาก
(เมื่อเทียบหูฟังกับลำโพง และเครื่องเล่น Mp3 กับเครื่องเล่น CD และ Amp ตั้งโต๊ะ)
ประหยัดวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอันเป็นการรบกวนธรรมชาติไปได้มาก
และเมื่อต้องทิ้งเป็นขยะก็จะมีขนาดเล็กกว่ามาก
3. แม้จะผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
แต่การ Download เพลงก็ช่วยลดการใช้พลาสติกในการทำแผ่น CD กล่อง ปก ไปได้มาก
ประมาณว่าถ้าไม่มีการ Download เลย
ขยะพลาสติกจากแผ่นซีดีจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันหลายสิบเท่าตัว ซึ่งขยะพวกนี้ทำลายยาก
เพิ่มปัญหาให้โลกร้อนอีก
4. ต่อจากข้อ 3. เพลงในเครื่องเล่นพวก Gadget
เกือบทั้งหมดลบและลงใหม่ได้ เป็นการใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าที่สุด
ลองคิดดูเราซื้อแผ่นซีดีมาแผ่นหนึ่ง
ฟังเบื่อแล้วเราก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเพลงอื่นได้ ต้องซื้อแผ่นใหม่สถานเดียว
เปลืองทั้งทรัพยากร และเงินในกระเป๋าด้วย 555 เพราะฉะนั้นสนับสนุนการ Download
เพลงครับ แต่ช่วย Download แบบถูกสิขสิทธิ์นะครับ (จ่ายเงินเขาหน่อย)
ท่านจะเป็นคนดี 2 ต่อ คือช่วยลดโลกร้อนและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
5.
ข้อนี้จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ ห้องเปิดท้ายครับ ช่วยลดโลกร้อนได้มาก
เพราะมีการนำอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วมาขาย
ถือว่าเป็นการหมุนเวียนใช้ของได้คุ้มค่าที่สุด และไม่ใช่แค่มือสองมือนะครับ
บางตัวหมุนเวียนเป็นสิบ ยี่สิบมือทีเดียว ปรบมือให้ชาว Gadget
และห้องเปิดท้ายหน่อยเร็ว (แปะ แปะ) 555
6. การเปิดร้านของหลายๆ
ร้านก็ช่วยลดโลกร้อนได้ครับ เพราะร้านเหล่านั้นได้นำอุปกรณ์ต่างๆ มาให้ลอง
ถ้าเป็นสมัยก่อนเราต้องซื้อมาลองเองอย่างเดียว เขาไม่แกะให้ลองก่อน
จะทำให้เราต้องซื้อของมากมายทำให้สิ้นเปลืองเงินทอง และทรัพยากรโลก
ฉะนั้นปรบมือให้ร้านต่างๆ ด้วยครับ นอกจากปรบมือให้แล้วก็ช่วยอุดหนุนให้ร้านดีๆ
อยู่รอดด้วยนะครับ
7. เมื่อกล่าวถึงห้องเปิดท้าย ร้านขายอุปกรณ์ Gadget แล้วจะไม่กล่าวถึงช่างซ่อมอุปกรณ์ Gadget ก็ดูจะกะไรอยู่ ช่างซ่อมอุปกรณ์ Gadget
ทำให้เราไม่ต้องทิ้งอุปกรณ์ Gadget ที่จะพังหรือได้รับเสียหายไป ช่วยลดปริมาณขยะ
และแน่นอนลดโลกร้อนด้วย ปรบมือให้ช่างเก่งๆ ทุกท่านครับ
เพิ่มเติม และมีหลายๆ
ท่านอยากจะช่วยลดโลกร้อนให้มากขึ้นไปอีก
ได้นำของที่ซ่อมเสร็จแล้วไปขายในห้องเปิดท้ายอีก
โอ้อะไรจะอยากช่วยลดโลกร้อนกันขนาดนั้น น่าดีใจจริงๆ 555
8.
ผู้เขียนรีวิวอุปกรณ์ Gadget ก็ช่วยลดโลกร้อนได้เหมือนกันครับ
ทำให้เราไม่ต้องเดินทางไปเสาะหาอุปกรณ์มาฟังเอง (และก็เป็นวิธีที่ผู้เริ่มต้นหลายๆ
คนใช้) และการรีวิวลงในบอร์ดก็ทำให้ไม่ต้องเปลืองกระดาษหากจัดทำเป็นหนังสือออกมา
แต่มันก็มีผลข้างเคียงนะครับ ถึงแม้มันจะช่วยลดโลกร้อนได้
แต่บางทีกลับทำให้ใจคนอ่านร้อนแทน (เพราะความอยากได้) 555
9. การใช้ Gadget
คือการหาความสุขง่ายๆ ที่มีราคาน่าจะถูกเกือบที่สุดแล้ว
ถ้าคุณต้องการไปดูหนังที่โรงหนัง ก็ต้องเสียค่ารถ ค่าตั๋ว ค่าขนมขบเคี้ยว อื่นๆ
อีกจิปาถะ ถ้าคุณต้องการไปดูคอนเสิร์ตก็ต้องเสียตังค์ เสียเวลาอีก
หรือถ้าคุณร้อนจะไปอาบน้ำ ซึ่งไม่อาบกันที่บ้านแน่นอน (เพราะอ่างมันเล็ก 555)
นอกจากเปลืองน้ำแล้วก็เตรียมกระเป๋าฉีกได้เลย 555 แต่สำหรับ Gadget คุณไม่ต้องไปไหน
อยู่กับที่เปิดเพลงฟังก็มีความสุขแล้ว และฟังได้ทุกที่ทุกเวลาเสียด้วย
ประหยัดค่าต่างๆ และช่วยลดการใช้พลังงานไปได้ตั้งเยอะ
10.
การฟังเพลงทำให้สุขภาพจิตดี ช่วยผ่อนคลายในสภาวะที่รีบเร่งเช่นในปัจจุบัน
ทำให้มีผู้ป่วยทางด้านสุขภาพจิตลดลงไปมาก
ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงพยาบาล จ้างหมอ จ้างพยาบาล ฯลฯ
ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากร ก่อปัญหาโลกร้อน เห็นม่ะ Gadget
มีประโยชน์จริงๆ
เพิ่มเติม แต่อย่าฟังกันดังมากนะครับ
เดี๋ยวจะต้องไปหาหมอเพื่อรักษาหูแทน 555
Gadget ช่วยลดโลกร้อนได้ขนาดนี้
เรามาชวนคนรู้จักหันมาใช้ Gadget กันเถอะ ว่าแต่ถ้าไม่รู้จะไปซื้อที่ไหน
ผมมีขายครับ 555 (ล้อเล่น)
พบกันใหม่ครับ สวัสดีครับ
ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sumat&month=12-02-2010&group=2&gblog=12
วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ความสัมพันธ์ของระบบเลขฐานสอง กับระบบคอมพิวเตอร์
ระบบเลขฐาน
เลขฐาน
หมายถึง กลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐานนั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ
ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก(0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูป
n ระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน4
แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)
เลขฐานสอง
คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่นจะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)
เลขฐานแปด
เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3หลัก แทนด้วยเลขฐานแปด 1 หลัก
ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
เลขฐานสิบ
คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด
ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ
เลขฐานสิบหก
เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วยเลขฐานสิบหก 1 หลัก
ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด16 ตัว คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F (ตัวอักษร 6 ตัว แทน ตัวเลข 10 –15 ตามลำดับ)
การแปลงเลข 10101011111101 เป็นเลขฐานสิบหกสามารถทำได้โดย
การแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 บิตดังนี้
0010 1010 1111 1101
จะเห็นว่าถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 บิต จะมีสองบิตบนที่จัดกลุ่มไม่ได้
ให้เติม 0 ไปในกลุ่มนั้นให้ครบ 4 บิต จากนั้นแทนค่าตัวเลขแต่ละกลุ่มด้วย
เลขฐานสิบหกดังนี้
การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง
คำศัพท์ที่จำเป็นต้องทำความรู้จักเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการดำเนินการต่างๆ ในระบบเลขฐานสองมีดังนี้
(1) บิต (bit) คือหลักแต่ละหลักในระบบเลขฐานสอง เช่น ประกอบด้วย 3 บิต
(2) บิตที่มีนัยสำคัญสูงสุด (mostsignificant bit : MSB) คือบิตที่อยู่ซ้ายมือสุดเป็นบิตที่มีค่าประจำหลักมากที่สุด เช่น บิตที่มีนัยสำคัญสูงสุดคือ 1 มีค่าประจำหลักเป็น
(3)
บิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุด (least significant bit : LSB) คือบิตที่อยู่ขวามือสุดซึ่งเป็นบิตที่มีค่าประจำหลักน้อยที่สุดเช่น บิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุดคือ 0 มีค่าประจำหลักเป็น ให้สังเกตว่าค่าประจำหลักของบิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุดจะมีค่าเป็น เสมอ
ตัวอย่าง แสดงการแปลง29 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบให้อยู่ในรูปเลขฐานสอง
วิธีทำ
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันมาฆบูชา
"มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา"หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม)
ถ้าในปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส)ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)
โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ
พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250
รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง,พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6,และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือวันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก(อันบริสุทธิ์) แทน
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชาในพุทธประวัติ
"วันมาฆบูชา"
เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร
ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการคือ
รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ
ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ
(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
จตุ+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ)โดยประชุมกัน ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว9 เดือน (45 ปี ก่อนพุทธศักราช)
พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์
มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน
เป็นไปโดยมิได้มีการนัดหมาย
และเป็นการเข้าประชุมของพระอรหันต์จำนวนมากเป็นมหาสังฆสันนิบาต และประกอบด้วย
"องค์ประกอบอัศจรรย์ 4 ประการ" คือ
พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 องค์นั้น
ได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น
"เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
คือเป็นพระสงฆ์ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง , พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา6 และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ
วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ดังกล่าวแล้ว
จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์"
อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น
เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ
ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้
ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท
อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ
พุทฺธา"
"วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ"
คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี
และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง
ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ
ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น
ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร ,
การมีความสำรวมในปาฏิโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
และการรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด
(พุทธสังเวชนียสถาน)
ในโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดีย
(เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ปัจจุบันเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก)
เกิดภายในบริเวณที่ตั้งของ "กลุ่มพุทธสถานโบราณวัดเวฬุวันมหาวิหาร"
ภายในอาณาบริเวณของวัดเวฬุวันมหาวิหาร
ซึ่งลานจาตุรงคสันนิบาตอันเป็นจุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชานั้น
ยังคงเป็นที่ถกเถียงและหาข้อสรุปทางโบราณคดีไม่ได้มาจนถึงปัจจุบัน
(วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต
บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง
นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร
ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) [10]
เป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก
เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า
"พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน"[11] หรือ
"เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแต) พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยาน[13]แห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์
ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน
(พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน
อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา
อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา
โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่
ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง
เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด
โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี
พ.ศ. 70
ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์
และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า
ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว
พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน
และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค
ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร
ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา
ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์)
แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง
แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่
และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ
แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด
ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300
ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า
ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น
(ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว
พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น
ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก
ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ
ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)
และได้รับการบูรณะโดยกองโบราณคดีอินเดียในช่วงที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
วัดเวฬุวัน ยังคงมีเนินดินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดค้นอีกมาก สถานที่สำคัญ ๆ
ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ "พระมูลคันธกุฎี"
ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการขุดค้น
เนื่องจากมีกุโบร์ของชาวมุสลิมสร้างทับไว้ข้างบนเนินดิน,
"สระกลันทกนิวาป"
ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้ทำการบูรณะใหม่อย่างสวยงาม, และ
"ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็ก ๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม
ลานนี้เป็นจุดสำคัญที่ชาวพุทธนิยมมาทำการเวียนเทียนสักการะ
(ลานนี้เป็นลานที่กองโบราณคดีอินเดียสันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในจุดนี้)
(ลานจาตุรงคสันนิบาต)
แต่ทว่าไม่ปรากฏรายละเอียดในบันทึกของสมณทูตชาวจีนและในพระไตรปิฎกแต่อย่างใดว่าเหตุการณ์ใหญ่นี้เกิดขึ้น
ณ จุดใดของวัดเวฬุวัน รวมทั้งจากการขุดค้นทางโบราณคดีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการทำเครื่องหมาย
(เสาหิน) หรือสถูประบุสถานที่ประชุมจาตุรงคสันนิบาตไว้แต่อย่างใด
(ตามปกติแล้วบริเวณที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
มักจะพบสถูปโบราณหรือเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างหรือปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญสำหรับผู้แสวงบุญ)
ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตเกิดขึ้นในจุดใดของวัด
"เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในบริเวณลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป"
(โดยสันนิษฐานเอาจากเอกสารหลักฐานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีพระสงฆ์ประชุมกันมากถึงสองพันกว่ารูป
และเกิดในช่วงที่พระพุทธองค์พึ่งได้ทรงรับถวายอารามแห่งนี้
การประชุมครั้งนั้นคงยังต้องนั่งประชุมกันตามลานในป่าไผ่
เนื่องจากเสนาสนะหรือโรงธรรมสภาขนาดใหญ่ยังคงไม่ได้สร้างขึ้น
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป
เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่)
โดยได้นำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็ก ๆ กลางลาน
และเรียกว่า "ลานจาตุรงคสันนิบาต"
ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริงอยู่ในจุดใด
และยังคงมีชาวพุทธบางกลุ่มสร้างซุ้มพระพุทธรูปไว้ในบริเวณอื่นของวัดโดยเชื่อว่าจุดที่ตนสร้างนั้นเป็นลานจาตุรงคสันนิบาตที่แท้จริง
แต่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็เชื่อตามข้อสันนิษฐานของกองโบราณคดีอินเดียดังกล่าว
โดยนิยมนับถือกันว่าซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้เป็นจุดสักการะของชาวไทยผู้มาแสวงบุญจุดสำคัญ1 ใน 2 แห่งของเมืองราชคฤห์ (อีกจุดหนึ่งคือพระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ)
พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า
และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ไปวัดรับศีล
งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา
และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น[18]
โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน
ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน)
ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา
โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันมาฆบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด
(ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้
(บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
จบ)
(บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)
(บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
(บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)
(บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
(บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)
(บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
ฯลฯ)
แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ
โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ
ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต
(รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม)
จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ
จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี
พระผู้ดำริให้มีพิธีมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
เนื่องจากพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา
คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ฯลฯ
ควรจะได้มีการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
โดยในครั้งแรกนั้นได้ทรงกำหนดเป็นเพียงการพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลเป็นการภายใน
แต่ต่อมาประชาชนก็ได้นิยมนำพิธีนี้ไปปฏิบัติสืบต่อมาจนกลายเป็นวันประกอบพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งไป
พุทธศาสนิกชนได้มีการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
และนับถือกันโดยพฤตินัยว่าวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยมาตั้งแต่นั้น[20]โดยเมื่อถึงวันนี้พุทธศาสนิกชนจะร่วมใจกันประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลต่าง
ๆ กันเป็นงานใหญ่ ดังนั้นเมื่อถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์จึงทรงประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์[1] สำหรับชาวไทยจะได้ร่วมใจกันบำเพ็ญกุศลในวันมาฆบูชาโดยพร้อมเพรียง
เช่น ลาว และกัมพูชา (ซึ่งเป็นส่วนที่ไทยได้เสียให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5) โดยไม่ปรากฏว่ามีการประกอบพิธีนี้ในประเทศพุทธมหายานอื่นหรือประเทศพุทธเถรวาทนอกนี้
เช่น พม่า และศรีลังกา ซึ่งคงสันนิษฐานได้ว่า
พิธีมาฆบูชานี้เริ่มต้นจากการเป็นพระราชพิธีของราชสำนักไทยและได้ขยายไปเฉพาะในเขตราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น
ต่อมาดินแดนไทยในส่วนที่เป็นประเทศลาวและกัมพูชาได้ตกเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส
และได้รับเอกราชในเวลาต่อมา
พุทธศาสนิกชนในประเทศทั้งสองที่ได้รับคตินิยมการปฏิบัติพิธีมาฆบูชาตั้งแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม
คงได้ถือปฏิบัติพิธีมาฆบูชาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้มีการยกเลิก
จึงทำให้คงปรากฏพิธีมาฆบูชาในประเทศดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
???
???
???
???
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน
โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สำนักพระราชวังจะออกหมายกำหนดการประกาศการพระราชพิธีนี้ให้ทราบทั่วไปเป็นประจำทุกปี
ในอดีตจะใช้ชื่อเรียกการพระราชพิธีในราชกิจจานุเบกษาแตกต่างกัน บางครั้งจะใช้ชื่อ
"การพระราชกุศลมาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต" หรือ "การพระราชกุศลมาฆบูชา" หรือแม้ "มาฆบูชา" ส่วนในรัชกาลปัจจุบัน
สำนักพระราชวังจะใช้ชื่อเรียกหมายกำหนดการที่ชัดเจน เช่น "หมายกำหนดการ
พระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๒๒"
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับการพระราชพิธีในเดือนสาม
คือพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลในวันมาฆบูชาไว้ มีใจความว่า
พระสงฆ์วัดบวรนิเวศและวัดราชประดิษฐ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว
พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัด แล้วจึงได้สวดมนต์ต่อไป
มีสวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงมีเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์กัณฑ์ ๑
เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยาม เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน ๓
ตำลึงและขนมต่าง ๆ เทศน์จบพระสงฆ์สวดมนต์รับสัพพี ๓๐ รูป”
เช่น ยกเลิกการถวายภัตตาหารพระสงฆ์ในเวลาเช้า หรือการจุดเทียนราย 1,250 เล่ม เป็นต้น
แต่ก็ยังคงมีการบำเพ็ญพระราชกุศลในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเหมือนเคย โดยในบางปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชาและทรงเวียนเทียนรอบพุทธศาสนสถานเป็นการส่วนพระองค์ตามพระอารามหลวงหรือวัดราษฎร์อื่น
ๆ บ้าง ตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา
ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
วันเวียนเทียน
เพราะเป็นวันที่ชาวพุทธในประเทศไทยนิยมไปทำบุญและเวียนเทียนรอบพุทธศาสนสถานที่วัดในเวลาค่ำของวันนี้
โดยทั่วไปนิยมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา
เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด
เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
บำเพ็ญความดี ทำใจให้ผ่องใส ตามแนวทางพระบรมพุทโธวาท
โดยมีแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาคล้ายกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา
คือมีการตั้งใจบำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตรฟังพระธรรมเทศนาและเจริญจิตตภาวนาในวันนี้
เมื่อตกกลางคืนก็มีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาตามอารามต่าง ๆ
และอาจมีการบำเพ็ญปกิณณกะกุศลต่าง ๆ ตลอดคืนตามแต่จะเห็นสมควร
ทำบุญตักบาตรฯ ในวันสำคัญแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทางศาสนา และภาคประชาชน
ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย
เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ
ให้แก่ประชาชน เช่น กิจกรรมสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวันมาฆบูชา ณ ท้องสนามหลวง
หรือตามวัดในจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น
พระพุทธองค์ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขารในวันเพ็ญเดือนสามแห่งพรรษาสุดท้ายของพระชนมชีพ
แห่งพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า (คราวที่ทรงพระชนมายุ 80
พรรษา) ก็ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ พระพุทธองค์ได้ทรง
"ปลงพระชนมายุสังขาร" พระศาสดาเสด็จพักผ่อนกลางวัน ณ ปาวาลเจดีย์
ทรงแสดงนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ว่า ผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4
ประการ อาจมีอายุยืนได้ถึงกัป แต่พระอานนท์มิได้ทูลอาราธนา เมื่อพระอานนท์ออกไป
มารจึงได้มาอาราธนาให้นิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ณ
ปาวาลเจดีย์ว่า อีก 3 เดือนจะเสด็จปรินนิพพาน
เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อพระอานนท์ทราบ จึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงพระชนม์ชีพอยู่อีก
แต่พระศาสดาตรัสว่า มิใช่กาล เพราะได้ทรงแสดงนิมิตแล้วถึง 16
ครั้ง ทรงทำนายว่าในวันเพ็ญเดือน 6 ที่จะมาถึง
พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน จึง
"ถือได้ว่าวันมาฆบูชาเป็นวันคล้ายวันสำคัญของพระพุทธศาสนาสองเหตุการณ์สำคัญ
คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
และวันที่ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขาร" (แต่โดยทั่วไปจะทราบแต่เพียงว่าวันนี้เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์)
รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา
(ที่อาจถือได้ว่าเป็นวันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา)
โดยถือว่าเหตุการณ์สำคัญที่เหล่าพระสาวกทั้ง 1,250 รูป
ได้กลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยความรักในพระองค์หลังจากได้ออกไปเผยแพร่พระศาสนาโดยมิได้นัดหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีอันบริสุทธิ์
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติในวันเพ็ญเดือนสาม
มักจะตกใกล้กับช่วง"เทศกาลวาเลนไทน์"
อันเป็นเทศกาลวันแห่งความรักของคริสต์ศาสนา
ซึ่งวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมักยึดถือคติค่านิยมวันแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ผิด ๆ
โดยนิยมยึดถือกันว่าเป็นวันแห่งความรักของคนหนุ่มสาว หรือแม้กระทั่งถือว่าเป็น
"วันเสียตัวแห่งชาติ" ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่านิยมทางจริยธรรมและศีลธรรมของวัยรุ่นไทย
รัฐบาลไทยในสมัยนั้นจึงได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ
"เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นไทย
ให้หันมาสนใจกับความรักอันบริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน"
แทนที่จะไปมัวเมากับความรักใคร่ชู้สาวหรือเรื่องฉาบฉวยทางเพศของหนุ่มสาว
อันจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมตามมา
พ.ศ. 2546
โดยเคยมีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณากำหนดให้มีวันกตัญญูแห่งชาติ
แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างว่าในประเทศไทยมีวันสำคัญแห่งชาติที่เกี่ยวกับการแสดงความกตัญญูมากพอแล้ว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549
ได้มีการรวมตัวของนักพูดชื่อดังหลายท่าน เช่น ดร.ผาณิต กันตามระ นายสุรวงศ์
วัฒนกุล ดร.อภิชาติ ดำดี นายเฉลิมชัย จารุไพบูลย์ ดร.โอภาส กิจกำแหง และนายถาวร
โชติชื่น เป็นต้น ซึ่งท่านเหล่านี้ได้ทำหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ให้ส่งเสริมให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกวันหนึ่งด้วย
โดยได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง[30]
นอกจากจะมีขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึงวันแห่งความรักอันบริสุทธิ์ของชาวพุทธแล้ว
ยังมีขึ้นเพื่อส่งเสริมค่านิยมให้คนไทยยึดถือความกตัญญู โดยอาจมีการพูดคุย
ส่งการ์ดอวยพร มอบของขวัญหรือช่อดอกไม้แก่ผู้มีพระคุณของเรา
เป็นการแสดงความระลึกถึงพระคุณด้วยความหวังดีของผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ
การแสดงออกซึ่งน้ำใจหรือคำพูดก็ตาม
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki